วิธีเลือก ผ้าชุดว่ายน้ำ คุณภาพ ทุกครั้งไม่มีพลาด
ชุดว่ายน้ำ สีตก สีซีด ผ้ากรอบ ผ้ายืด ปัญหาพวกนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนค่ะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ผ้าชุดว่ายน้ำ ที่คุณซื้อมาผลิตสินค้าของคุณ อันไหนมีคุณภาพ เจ้นมีคำตอบมาบอกค่ะ เรามาดูวิธีการเลือก ผ้าชุดว่ายน้ำ ที่มีคุณภาพกันดีกว่าค่ะ
วิธีเลือก ผ้าชุดว่ายน้ำ คุณภาพ ทุกครั้งไม่มีพลาด

เวลาที่คุณเลือกซื้อผ้าที่จะนำมาทำ ชุดว่ายน้ำ นะคะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผ้าตัวไหนดี มีคุณภาพ เขาวัดกันที่ตรงไหน วันนี้เจ้นจะมาแนะนำว่าเราควรตรวจสอบตรงไหนบ้าง เผื่อเพื่อนๆ มีโอกาสจะนำวิธีนี้ไปใช้กันได้นะคะ เนื่องจากเราสามารถทำชุดว่ายน้ำได้หลากหลายผ้ามาก ขึ้นอยู่กับดีไซน์ และ ฟังชั่นเป็นหลัก ถ้าเราซื้อผ้าที่มาจากโรงงานผลิต ผ้าชุดว่ายน้ำ ผ้าชุดออกกำลังกาย หรือ ร้านขายผ้า เราสามารถขอดูตารางทดสอบคุณภาพของผ้าได้ค่ะ หลักที่เราเอามาวัดคุณภาพของ ผ้าชุดว่ายน้ำ ก็คือ

1. เรื่องความคงทนของสี

2. เรื่องของความยืด

3. เรื่องของความทนต่อความร้อน

และ 4. ก็คือเรื่องที่ว่ามีสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอยู่หรือไม่ เพราะบางทีลูกค้าสมัยนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าในอดีตเยอะเลยค่ะ

การที่คุณเป็นเจ้าของแบรนด์ ที่รู้เรื่องคุณภาพของ ผ้าชุดว่ายน้ำ นั้นมีข้อดีอย่างไร

1. เพื่อป้องกันปัญหาก่อนลงงานผลิต เพราะถ้าเราใช้ ผ้าชุดว่ายน้ำ ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน อาจจะมีปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สีตก ซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่เลยค่ะ ผ้ากรอบไม่ทนความร้อนเป็นต้น

2. เพื่อสร้างความโปร่งใสในการสื่อสารกับลูกค้าทำให้ลูกค้ามั่นใจในสินค้าของคุณว่าสินค้าคุณมีมาตรฐานได้รับการยอมรับ

3. เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าของเราได้รับการรับรองตามกฏหมาย และ คุ้มครองผู้บริโภค

4. เพื่อสร้างคุณค่าให้แบรนด์และสินค้าของคุณ ว่าสิ่งที่คุณเลือกให้กับลูกค้า คือคุณให้ความสำคัญในเรื่องการผลิตที่ไม่ใช้สารก่อให้เกิดอันตราย หรือ เน้นเรื่องการสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่การผลิตของคุณ

5. การสร้างบรรทัดฐานคุณภาพของสินค้าเป็นการลงทุนสร้างความเชื่อมั่นในรูปแบบหนึ่งด้วยค่ะ

6. เพื่อเพิ่มศักยภาพความเท่าเทียมในตลาดระดับสากล

7. เพื่อสร้างความไว้วางใจในแบรนด์และสินค้าของคุณ ซึ่งคุณจะได้กำไรในการสร้างความเชื่อมั่นนี้ให้กับลูกค้าแน่นอนค่ะ เพราะแบรนด์คุณ ไม่ควรเสี่ยงการเสียชื่อเสียงที่สร้างมาเพราะต้องเลือกต้นทุนราคาถูก เป็นสาเหตุทำให้ของไม่มีคุณภาพนั่นเองทีนี้เรามาดูว่ามีองค์กรไหนบ้างที่สามารถให้มาตรฐานในการตรวจสอบที่เราเคยเห็นหรือรู้จักกันก็จะมี

OEKO-TEX (เอคโค่เท็กซ์)

AATCC (American Association of Textile Chemists and Colorists)

ISO (International Organization for Standardization)

เจ้าแรก OEKO-TEX (เอคโค่เท็กซ์) เป็นสถาบันวิจัยและทดสอบอิสระ ที่รวมตัวกัน 18 แห่งทั้งประเทศในยุโรป และ ญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันพัฒนา ทดสอบ ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดมาตรฐาน เช่นเครื่องหมายที่เราเห็นกันบ่อยๆ คือ STANDARD 100 by OEKO-TEX®

จากที่ทุกคนเห็นกัน ฉลาก STANDARD 100 ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการรับรอง ในเรื่องของวัสดุที่ผ่านการทดสอบว่าไม่มีสารอันตราย ผลิตในสถานที่ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สินค้าผลิตในสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย และรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้นค่ะ ใครที่มีเครื่องหมายนี้ในวัสดุที่ใช้ผลิต เหมือนเรามีจุดยืนในการให้คุณค่าเรื่องของสิ่งแวดล้อมและ sustainability หรือเรื่องความยั่งยืนค่ะ

ต่อมาเจ้าที่สอง AATCC (American Association of Textile Chemists and Colorists) ถ้าเวลาที่เราเลือกซื้อผ้าแล้วเค้ามีเอกสาร AATCC เป็นตารางให้ดูนะคะ รูปร่างหน้าตาจะเป็นแบบประมาณนี้

AATCC เป็นโปรแกรมทดสอบประสิทธิภาพความคงทนของสี ว่าสีตก สีซีด เปลี่ยนสี หรือไม่จากอะไรบ้าง หรือที่เราเรียกว่า Colorfastness นั่นเองค่ะ ซึ่งรับรองโดยแลปที่มี Certificate นะคะ ตามภาพอธิบายง่ายๆ ก็คือตัวเลขจะแทนค่าของผลการตรวจประเมินนั้นเอง ให้คะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5

1 - Very Weak

2 - Weak

3 - Moderate

4 - Good

5 - Excellent

ซึ่งแต่ละวิธีการทดสอบ หรือ ขั้นตอนการประเมินผล AATCC PTPs ครอบคลุมถึง Antibacterial, รูปร่างภายนอก Appearance การประเมินเรื่องความคงทนของสี Colorfastness, การวิเคราะห์เส้นใย Fiber Analysis, และ การกันน้ำ Water Resistance ซึ่งในแต่ละโปรแกมการทดสอบ จะอยู่ตรงตารางด้านบน ยกตัวอย่างช่องแรกนะคะ

1. รหัส AATCC 16 Test Method for Colorfastness to Light เป็นการทดสอบความคงทนของสีจากแสง ว่าถ้าอยู่ในแสงนาน ผ้าตัวไหน สีจะเปลี่ยนถ้าเจอแสงจ้านานๆ

ต่อมาเรามาดูตารางข้างล่างกันนะคะ ตารางข้างล่างนี้เป็นตารางที่บอกว่า AATCC เค้ามี test ตัวไหนบ้างและเค้า test ในเรื่องอะไรบ้างนะคะ เป็นแค่ส่วนเดียวของ Test ทั้งหมดของ AATCC นะคะ ที่จริงเขามีเป็นร้อยกว่า Test แค่เลือกมาให้ดูเฉพาะตัวที่น่าสนใจสำหรับ ผ้าชุดว่ายน้ำ ผ้าชุดออกกำลังกาย ถ้าใครอยากดูทั้งหมดสามารถเข้าไปดูได้ที่ AATCC Testing Methods

AATCC | Test Methods Reference

AATCC TM8 - Colorfastness to Crocking: Crockmeterการทดสอบความคงทนของสีจากการเสียดสีหรือการขัด

AATCC TM15 - Colorfastness to Perspirationการทดสอบความคงทนของสีจากเหงื่อ

AATCC TM61 - Colorfastness to Laundering: Acceleratedการทดสอบความคงทนของสีจากการซัก

AATCC TM106 - Colorfastness to Water: Seaการทดสอบความคงทนของสีจากน้ำทะเล

AATCC TM107 - Colorfastness to Waterการทดสอบความคงทนของสีจากน้ำธรรมดา

AATCC TM162 - Colorfastness to Water: Chlorinated Poolการทดสอบความคงทนของสีจากสระน้ำคลอรีน

ต่อมา ISO คือองค์กรอิสระที่เป็นการรวมตัวกันของสมาชิก 164 ประเทศ หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า ISO บ่อยกว่าอันอื่นค่ะ ISO ก็มีวิธีการเทสคล้ายกับ AATCC ค่ะ ตอนที่เราจะเลือกผ้าก็แนะนำดูการทดสอบในตารางก่อนค่ะ

จะมีบางสีที่เป็นข้อควรระวัง ยกตัวอย่างผ้าที่เป็นสี Fluorescent Colour หรือสีนีออน หลายๆ ครั้งที่เราอาจจะเจอกับปัญหาผ้าสีตก หรือผ้าเปลี่ยนสีค่ะ เพราะสีพวกนี้จะมีความไวต่อแสง เพราะกว่าจะเป็นสีนีออนต้องใช้การย้อมที่หลายครั้งมากกว่าผ้าสีปกติและเคลือบสารที่เพิ่มความเรืองแสงเข้าไปด้วย ดังนั้น ผ้าชุดว่ายน้ำหลายๆ โรงงานจึงต้องมีคำเตือนสำหรับการใช้สีสะท้อนแสงด้วยค่ะ หากซักรวมกับผ้าขาว สีอาจจะตกใส่ได้ หรือเวลาเหงื่อออกเยอะก็เป็นได้ค่ะ หรือแม้แต่การเลือกใช้ผ้าที่มี 2 สีคู่กัน ถ้าเราเชคดีๆ เราจะได้ไม่เอาผ้าที่สีเข้มมากมาอยู่ในดีไซน์เดียวกับผ้าที่ดูดสีง่ายด้วยค่ะ

ในตารางยังระบุในเรื่องของ Care Label ไว้ด้วยนะคะ ก็จะมีรายละเอียดเรื่อง ผ้าชุดว่ายน้ำนี้ ควรซักในอุณภูมิที่เท่าไหร่ ใส่เครื่องอบผ้าได้หรือไม่ รีดด้วยความร้อนได้หรือไม่ ทั้งหมดที่เจ้นพูดไปนี้นะคะ เป็นเรื่องที่คุณในฐานะที่เป็นเจ้าของแบรนด์ หรือ ลูกค้าที่ชอบชุดว่ายน้ำ ควรหันมาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมไว้ เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณได้ ผ้าชุดว่ายน้ำ ผ้าชุดออกกำลังกาย ที่มีคุณภาพแล้ว สามารถป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดตามมา และ ยังเพิ่มคุณค่าให้แบรนด์คุณได้ด้วยค่ะ

ถ้าใครสนใจอยากรู้เทรนด์ใหม่ๆ และ Content ดีๆ เกี่ยวกับ ชุดออกกำลังกาย ชุดว่ายน้ำ สามารถลงทะเบียนรับ Newsletter ของเราได้ข้างล่างเลยนะคะ หรือ คนไหนสนใจ ผลิตชุดออกกำลังกาย ผลิตชุดว่ายน้ำ หรือ คอร์สเรียน การออกแบบ การทำแบรนด์ และ การผลิต สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Passion to Profit นะคะ

Heading